History
Asia Pastry
เรื่องเล่าของ ขนมเปี๊ยะ
ขนมเปี๊ยะ ( 餅 แปลว่า ขนมเปี๊ยะ ) เป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นสิริมงคล ความปรารถนาดีต่อกัน และความสมัครสมานสามัคคี
ขนมเปี๊ยะ ขนมที่คนจีนนิยมใช้ในงานมงคล ทั้งงานหมั้น งานแต่งงาน หรือเป็นของขวัญงานมงคลต่างๆ รวมไปถึงการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ที่มักใช้ประกอบในเทศกาลขนมไหว้พระจันทร์ของชาวจีน ใช้เป็นเครื่องเซ่นไหว้เทพเจ้า ซึ่งความหมายของขนมเปี๊ยะในเทศกาลนี้คือ เป็นขนมแห่งความสิริมงคล สื่อถึงความปรารถนาดีระหว่างผู้รับกับผู้ให้ พร้อมทั้งยังเป็นขนมที่แสดงถึงความสามัคคีกัน เพราะเทศกาลไหว้พระจันทร์ ชาวจีนส่วนใหญ่มักอยู่พร้อมหน้ากันทั้งครอบครัว เพื่อชมพระจันทร์พร้อมทั้งรับประทานขนมเปี๊ยะไปด้วย
ส่วนประกอบของขนมเปี๊ยะเป็นขนมที่เป็นแป้งมีไส้อยู่ข้างใน ซึ่งส่วนผสมของแป้งที่ออกมาเป็นชั้นบางๆ หลายชั้น และมีอักษรมงคลสีแดงประทับอยู่กลางขนมนั้น มีส่วนผสมทั้งแป้งสาลี น้ำมันหรือไขมัน น้ำ น้ำตาล เกลือ ไข่ และส่วนประกอบอื่นๆ ที่เหมาะสม ส่วนไส้ขนมเปี๊ยะด้านในเดิมจะมีเพียง 2 ไส้ คือ ถั่วและผัก แต่เมื่อชาวจีนที่อพยพเข้ามาอยู่ในเมืองไทยการทำขนมเปี๊ยะจึงถูกนำมาเผยแพร่มาเรื่อยๆ จนวัฒนธรรมไทยและจีนเริ่มผสมผสานกันมากขึ้น จึงทำให้ขนมเปี๊ยะเริ่มมีกลิ่นอายและมีรสชาติแบบไทยๆ จำนวนไส้จึงมีให้เลือกมากขึ้น เช่น ทุเรียน ไข่แดง งา เผือก ฯลฯ
ร้านละมุน ( LAMOON ) จึงสรรค์สร้างไส้ขนมเปี๊ยะที่มีกลิ่นอายแบบไทยๆ และผสมผสานความทันสมัย เพื่อสร้างรสชาติที่มีความแปลกใหม่และแสดงถึงความทันสมัยในยุคปัจจุบัน คือ ฝอยทองรสดั้งเดิม ฝอยทองรสใบเตย และคาราเมล